ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ถอดหลอดไฟฟ้าในบริเวณที่ไม่ต้องการความสว่างหรือพื้นที่ไม่ใช้งาน และบริเวณที่มีความสว่างมากเกินไป เช่น มีหลอดไฟมากเกินไป บริเวณข้างหน้าต่างที่มีแสงธรรมชาติเข้าถึงเป็นต้น |
เทคนิค / OM |
2) ปิดไฟทุกครั้งทีไม่มีบุคลากรทํางานในห้อง และกําหนดเวลาเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน |
ทุกส่วนงาน |
3) ให้มีการพิจารณาติดตั้งสวิทช์หลอดไฟฟ้าแบบกระตุกสําหรับโคมส่องสว่างของบุคลากรเพื่อเป็นการลดค่าไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่ใช้งาน |
ทุกส่วนงาน |
4) ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อไม่มีการใช้งานแล้ว |
ทุกส่วนงาน |
5) ให้ตรวจสอบการทํางานของอุปกรณ์ ค่าความสว่าง เป็นประจําทุก 6 เดือน |
เทคนิค / OM |
6) รณรงค์ให้เลิกการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน |
เทคนิค / OM / ทุกส่วนงาน |
7) จัดสภาพห้องทำงานให้เหมาะสม นำของที่ไม่จำเป็นในการใช้งานออกจากห้องทำงานไปไว้ที่อื่น |
ทุกส่วนงาน |
8) ทําความสะอาดโคมไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าให้สะอาดอยู่เสมอ |
อาคารสถานที่ |
9) จัดทำฐานข้อมูลระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
เทคนิค / OM |
ระบบปรับอากาศ
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) กำหนดเวลาเปิดและปิดเครื่องปรับอากาศในสำนักงานตามช่วงเวลา ดังนี้ ช่วงเช้า เปิดเวลา 08.00 น. และปิดเวลา 12.00 น.ช่วงบ่าย เปิดเวลา 13.00 น. และปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเลิกใช้งาน 15-30 นาที |
ทุกส่วนงาน |
2) ลดการใช้เครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ (Chiller) นอกเวลาทำการปกติ ถ้ามีความจำเป็นในการปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดทำการ การเปิดเครื่องปรับอากาศต้องอยู่ภายใต้การอนุญาตของผู้บังคับบัญชา และต้องแจ้งสำนักรองอธิการบดีฝ่ายบริหารเพื่ออนุมัติ ก่อนวันที่ใช้งาน 7 วัน |
ทุกส่วนงาน / เทคนิค / OM |
3) ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25-27 องศาเซลเซียส |
ทุกส่วนงาน / เทคนิค / OM |
4) ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศโดยเปิด-ปิดประตูเข้า- ออกเท่าที่จำเป็น และระมัดระวังไม่ให้ประตูเปิดค้างไว้ |
ทุกส่วนงาน |
5) หลีกเลี่ยงการติดตั้งและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น กาต้มน้ำ ไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น |
ทุกส่วนงาน |
6) ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศตามกำหนดระยะเวลา กำหนดช่วงเวลาล้างเครื่องปรับอากาศ เช่น ล้างคอมเพรสเซอร์ปีละ 2 ครั้ง ล้างฟิลเตอร์ปีละ 4 ครั้งล้างและทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือนเป็นต้น |
เทคนิค / OM |
7) หากพบว่าเครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติให้แจ้งผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไขทันที |
ทุกส่วนงาน / เทคนิค / OM |
8) ติดตั้งม่านหรือมู่ลี่กรองแสง เพื่อช่วยลดปริมาณแสงอาทิตย์และความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร |
อาคารสถานที่ |
9) ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร |
อาคารสถานที่ |
10) จัดทำฐานข้อมูลเครื่องปรับอากาศ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
เทคนิค / OM |
เครื่องคอมพิวเตอร์
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการใช้งาน |
ทุกส่วนงาน |
2) ปิดหรือพักหน้าจอคอมพิวเตอร์ตอนพักกลางวัน |
ทุกส่วนงาน |
3) ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และถอดปลั๊กหลังเลิกใช้งาน |
ทุกส่วนงาน |
4) ควรปิดจอมอนิเตอร์ เมื่อต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินกระบวนการไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องเฝ้าดู หรือตั้งโปรแกรมปิดหน้าจอภาพอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้ใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที |
ทุกส่วนงาน |
5) จัดทำฐานข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
ITS |
เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ตรวจทานข้อความบนจอภาพ โดยใช้คำสั่ง Print Previewทุกครั้ง ก่อนจะทำการ Print out |
ทุกส่วนงาน |
2) ใช้ระบบการแชร์เครื่องพิมพ์ (Printer Network) ภายในสำนักงาน/ห้องทำงานเดียวกัน เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องพิมพ์ |
ทุกส่วนงาน |
3) ปิดเครื่องพิมพ์ เมื่อเลิกใช้งานและถอดปลั๊กออก |
ทุกส่วนงาน |
4) ไม่ควรดึงปลั๊กขณะยังไม่ได้ปิดเครื่องพิมพ์ เนื่องจากหัวพิมพ์ยังไม่กลับเข้าที่เดิม ทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้ง่ายและเครื่องเสียเร็ว |
ทุกส่วนงาน |
5) มีการพิมพ์อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้ตลับหมึกไม่แห้งและอุดตัน |
ทุกส่วนงาน |
6) จัดทำฐานข้อมูลเครื่องพิมพ์เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
ITS |
ลิฟท์
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) กำหนดระยะเวลาเปิด-ปิดลิฟท์ในอาคาร เวลา 08.00 - 20.00 น. |
อาคาร / เทคนิค / OM |
2) หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์ลดการใช้ลิฟท์หากขึ้น-ลงเพียงชั้นเดียว |
ทุกส่วนงาน |
3) รณรงค์ให้มีการใช้บันไดแทนลิฟท์ |
อาคาร / เทคนิค / OM |
4) ก่อนปิดประตูลิฟท์ควรหาเพื่อร่วมทางเพื่อช่วยในการประหยัดไฟฟ้า |
ทุกส่วนงาน |
5) หลีกเลี่ยงการกดปุ่มคำสั่งการใช้ลิฟท์ซ้ำเพื่อรักษาระบบการทำงานของลิฟท์ |
ทุกส่วนงาน |
6) จัดทำฐานข้อมูลลิฟท์ เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
เทคนิค / OM |
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) จัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เป็นแบบประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ทุกส่วนงาน |
2) ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้เสร็จทุกครั้ง |
ทุกส่วนงาน |
3) รณรงค์เปลี่ยนการใช้กาต้มน้ำไฟฟ้าแบบอุ่นตลอดเวลามาเป็นกาต้มน้ำเฉพาะช่วงเวลา |
ทุกส่วนงาน |
4) ขอความร่วมมือในการไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น กระทะไฟฟ้า หม้อหุงข้าว ฯลฯ มาใช้ในสำนักงาน |
ทุกส่วนงาน |
น้ำประปา
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด และตรวจสอบการรั่วไหลของอุปกรณ์ประปาทุกชนิด หากพบว่ามีการชำรุดให้ซ่อมแซมทันที |
ทุกส่วนงาน / เทคนิค / OM |
2) ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ และหากล้างมือ ล้างหน้า แปรงฟันหรือล้างภาชนะควรใช้แก้วหรือภาชนะรองน้ำ |
ทุกส่วนงาน |
3) ลดการล้างภาชนะที่ไม่จำเป็นทุกชนิดก่อนล้างภาชนะควรเช็คคราบอาหารออกก่อน |
ทุกส่วนงาน |
4) ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง และติดตั้งหัวก๊อกแบบประหยัดน้ำ |
ทุกส่วนงาน / เทคนิค / OM |
5) การดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ ควรใช้ระบบหัวฉีดแบบสปริงเกอร์ หรือใช้น้ำจากบ่อบำบัด เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำประปา |
อาคารสถานที่ |
6) ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ให้รดตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่าช่วยให้ประหยัดน้ำ |
อาคารสถานที่ |
7) ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้น แทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด |
อาคารสถานที่ |
8) สํารวจท่อน้ำและข้อต่อท่อประจําสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าชำรุดให้รีบซ่อมทันที |
อาคาร / เทคนิค / OM |
น้ำมันเชื้อเพลิง
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ศึกษาเส้นทางและวางแผนการเดินทางล่วงหน้าก่อนออกรถทุกครั้ง |
พนักงานขับรถ |
2) ตรวจสอบลมยางเป็นประจำอย่าให้อ่อนเกินไปให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ควรสับเปลี่ยนยางและตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด |
พนักงานขับรถ |
3) ไม่สตาร์ทเครื่องทิ้งไว้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถเป็นเวลานาน |
พนักงานขับรถ |
4) ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนดใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม. / ชม. |
พนักงานขับรถ |
5) ตรวจสอบสภาพทั่วไปของรถเป็นประจำ |
พนักงานขับรถ |
6) กรณีขอใช้รถยนต์เดินทางไปประชุมหรือนิเทศนักศึกษาฝึกงานถ้า พิจารณาความสะดวกและคุ้มค่ากว่าให้เดินทางโดยพาหนะรับจ้าง |
สำนักกฎหมายและสิทธิประโยชน์ |
7) จัดทำฐานข้อมูลการใช้รถและน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อบันทึกการตรวจสอบและบำรุงรักษา |
สำนักกฎหมายและสิทธิประโยชน์ |
8) จัดทำสถิติการขอใช้รถและรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทุกเดือน |
สำนักกฎหมายและสิทธิประโยชน์ |
กระดาษ
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) นำกระดาษหน้าเดียวกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และใช้กระดาษทั้งสองด้าน |
ทุกส่วนงาน |
2) ควบคุมปริมาณกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์และถ่ายเอกสารสำเนาและจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ แทนการใช้กระดาษ |
ทุกส่วนงาน |
3) คัดแยกประเภทของกระดาษโดยจัดทำกล่องแยกประเภทของกระดาษ ได้แก่ กล่องกระดาษใช้แล้วหน้าเดียว กล่องกระดาษใช้แล้วสองหน้า |
ทุกส่วนงาน |
4) กำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ เช่น ใบลา ให้นำกระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียวมาใช้ จัดพิมพ์เอกสารการประชุมโดยใช้กระดาษทั้งสองหน้าและไม่จัดพิมพ์เอกสารการประชุมที่เป็น PowerPoint |
ทุกส่วนงาน |
5) นำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ โดยจัดตั้งจุดเก็บกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวในพื้นที่ส่วนกลางของหน่วยงาน และรณรงค์ให้บุคลากรนำกระดาษที่ได้จากการรวบรวมนำกลับมาใช้ใหม่ |
ทุกส่วนงาน |
6) ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บเอกสารการส่งเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ และสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ |
ทุกส่วนงาน |
7) เก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษรายเดือน และเปรียบเทียบการใช้กระดาษ แจ้งให้ทุกหน่วยงานรับทราบ |
สำนักงานบริหารพัสดุ |
วัสดุ/อุปกรณ์สำนักงาน
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) จัดอุปกรณ์เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานส่วนกลางสำหรับใช้ร่วมกัน เช่น แท่นเทปใส ที่เจาะกระดาษ กบเหลาดินสอ ฯลฯ |
ทุกส่วนงาน / สำนักงานบริหารพัสดุ |
2) กำหนดระยะเวลาการเบิกวัสดุสำนักงานภายในหน่วยงาน (เดือนละ 4 ครั้ง) |
สำนักงานบริหารพัสดุ |
3) จัดจ้าง และจัดซื้ออุปกรณ์/วัสดุสำนักงานควรซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงการซื้อชา กาแฟและเครื่องดื่ม ควรเลือกบรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
สำนักงานบริหารพัสดุ |
4) การเบิกวัสดุสำนักงานควรเบิกวัสดุที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและควรเบิกในปริมาณที่พอเหมาะและใช้ร่วมกันอย่างประหยัด |
ทุกส่วนงาน |
5) การเบิกวัสดุบางชนิด หากมีการเบิกใหม่ให้นำวัสดุชิ้นนั้นมาแลกหากไม่มีไม่อนุญาตให้เบิก เช่นการเบิกหมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพริ้นเตอร์ |
ทุกส่วนงาน |
หมึกพิมพ์
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) กำหนดแผนการจัดซื้อหมึกพิมพ์ โดยจัดซื้อเฉพาะที่จำเป็น และเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
สำนักงานบริหารพัสดุ |
2) ใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เอกสารร่วมกันตามจุดที่เหมาะสมเพื่อประหยัดหมึกพิมพ์และลดการใช้ไฟฟ้า |
ITS / ทุกส่วนงาน |
3) เก็บกระดาษให้ถูกวิธี จะช่วยลดการพิมพ์เสียได้ |
ทุกส่วนงาน |
การจัดการประชุม
ก่อนการประชุม
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) การติดต่อสื่อสารก่อนการประชุม ให้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) และสื่อสังคมออนไลน์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุมทั้งการประชุมภายในและภายนอกหน่วยงาน |
|
2) การประชาสัมพันธ์การจัดประชุมให้ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์ |
ทุกส่วนงาน |
3) ระบุในจดหมายเชิญให้มีการส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมการประชุมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) หรือทางสื่อสังคมออนไลน์ |
ทุกส่วนงาน |
4) ระบุในจดหมายเชิญว่าเป็นการประชุมตามหลักการ Green Meetings แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมงดใช้เสื้อสูทและเสื้อนอกระหว่างการประชุม |
ทุกส่วนงาน |
5) การประเมินการประชุมหรือการตอบแบบสอบถามให้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) หรือสื่อสังคมออนไลน์ |
ทุกส่วนงาน |
การเตรียมเอกสาร
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ส่งเอกสารการประชุมทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) และแจ้งให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเตรียม / นําเอกสารการประชุมมาในวันที่ประชุม |
ทุกส่วนงาน |
2) การแก้ไขเอกสาร ควรแก้ไขบนจอคอมพิวเตอร์และตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนทำการพิมพ์ เพื่อประหยัดการใช้กระดาษ |
ทุกส่วนงาน |
3) เตรียมไฟล์ข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต |
ทุกส่วนงาน |
4) การพิมพ์เอกสาร Power Point จะต้องตัดสี background และรูปภาพออก |
ทุกส่วนงาน |
5) จัดทําเอกสารการประชุมเฉพาะที่จําเป็น พยายามสรุปข้อมูลให้สั้น กระชับและได้ใจความ |
ทุกส่วนงาน |
6) เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล (Recycled Paper) ส่วนเอกสารร่างและเอกสารที่ไม่สำคัญควรใช้กระดาษ 2 หน้า |
ทุกส่วนงาน |
7) จัดพิมพ์เอกสารการประชุมที่เป็นสีขาว-ดําเท่านั้นก่อนทิ้งกระดาษให้ตรวจสอบว่ามีการใช้แล้วทั้ง 2 หน้าหรือไม่ |
ทุกส่วนงาน |
8) ไม่จัดพิมพ์เอกสารการประชุมที่เป็นสไลด์ PowerPoint หรือถ้ามีความจําเป็น ควรจัดพิมพ์4-6 สไลด์/หน้า |
ทุกส่วนงาน |
9) แยกกระดาษที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วออกจากของเหลือทิ้ง เพื่อให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ |
ทุกส่วนงาน |
การเตรียมสถานที่จัดประชุม
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) เลือกห้องประชุมให้เหมาะสมกับจํานวนผู้เข้าร่วมการประชุม |
ทุกส่วนงาน |
2) ตกแต่งสถานที่โดยใช้ไม้ประดับที่ปลูกในกระถาง แทนการใช้ ดอกไม้ รวมถึงสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ใหม่ |
ทุกส่วนงาน |
3) ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพสูง เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการจัดงาน |
ทุกส่วนงาน |
4) ลดการใช้โฟมและพลาสติก โดยหันมาใช้วัสดุ / อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ทุกส่วนงาน |
5) เตรียมถังขยะแยกประเภทสําหรับขยะรีไซเคิล (Recyclable Waste) ได้แก่ กระดาษ ขวดพลาสติก เศษแก้ว กระป๋อง และขยะมูลฝอยทั่วไปอย่างเพียงพอ และชัดเจน |
อาคารสถานที่ |
การเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) วางแผนเตรียมอาหารให้เพียงพอและพอดี จัดมุมอาหารว่างและเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้เข้าประชุมบริการตัวเอง |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
2) หลีกเลี่ยงการใช้โฟม พลาสติก และกระดาษ เลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น ใบตอง เป็นต้น และเสิร์ฟน้ำจากเหยือกแทนขวดพลาสติก |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
3) หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ที่รองแก้วกระดาษ แก้วกระดาษ ให้เลือกใช้ภาชนะและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ เช่น แก้วน้ำทำจากแก้ว จานรองพลาสติก เป็นต้น |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
4) จัดให้มีภาชนะแยกเศษอาหาร เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือกำจัดทิ้ง |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
5) สนับสนุนวัตถุดิบสำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่หาได้ในท้องถิ่น |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
6) จัดบริการอาหารจานเดียวสำหรับการประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมต่ำกว่า 20 คน ในกรณีที่มีผู้ร่วมประชุมมากกว่า 20 คน สามารถจัดอาหารแบบบุฟเฟต์หรือตามความเหมาะสม |
ทุกส่วนงาน / จัดเลี้ยง |
7) ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ควรใช้ในปริมาณที่พอดี เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และลดปริมาณน้ำในการล้างออก ทุกส่วนงาน |
ทุกส่วนงาน |
การจัดเตรียมอื่นๆ
แนวทางและมาตรการในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน |
ผู้รับผิดชอบ |
1) ปิดเครื่องฉาย LCD หรือเลือกเป็น stand-by mode |
ITS / ทุกส่วนงาน |
2) เลือกใช้รางวัลหรือของที่ระลึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นวัสดุที่ สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นหรือเป็นวัสดุรีไซเคิล (Recycled Material) |
ทุกส่วนงาน |
3) เตรียมภาชนะเพื่อรองรับแผ่นพับ ใบปลิว หรือเอกสารต่างๆ ที่ผู้ร่วมงานไม่ต้องการบริเวณทางออก |
ทุกส่วนงาน / อาคารสถานที่ |
4) ใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดนิทรรศการไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และดัดแปลงได้ |
ทุกส่วนงาน |
5) ตกแต่งสถานที่โดยใช้ไม้ประดับที่ปลูกในกระถาง แทนการใช้ ดอกไม้ รวมถึงสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ใหม่ |
ทุกส่วนงาน / อาคารสถานที่ |
6) ลดการใช้โฟมและพลาสติก โดยหันมาใช้วัสดุ / อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ทุกส่วนงาน |