องค์กรตัวอย่าง : “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” มหาวิทยาลัยในสวนป่า ได้รับรางวัลจากการประปานครหลวง ลดการใช้น้ำได้ถึง หลักลิตร ต่อเดือน !!

รายงานการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 

ประวัติความเป็นมา                                                           จัดทำโดย  นางกุสุมา   พงษ์สิงห์

    สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีหนังสือเชิญชวนให้สถาบันการศึกษาจัดทำโครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล  เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์สร้างระบบการรีไซเคิล และมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยแห่งชาติ ตามกฎระเบียบของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับขยะบรรจุภัณฑ์  โดยสถาบันฯ จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการ  สำนักรองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้ศึกษาเบื้องต้นแล้ว  เห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์  จึงได้จัดทำโครงการขึ้น  โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการฯ ดังกล่าวในเวลาต่อมา ใช้ชื่อว่า  “โครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล”  เป็นโครงการร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา 10 แห่ง กับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ได้แก่  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  มหาวิทยาลัยศรีปทุม  และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ  การจัดตั้งธนาคารวัสดุรีไซเคิล  ทำให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ  มีระยะเวลา  1 ปี  (มกราคม – ธันวาคม  2552)  (ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการฯ ที่แนบมา)  มีการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ  ในวันที่  10 กันยายน  2552  ณ  อาคาร AU Mall วิทยาเขตสุวรรณภูมิ  โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ฯ   โครงการฯ ดังกล่าวมีการดำเนินงานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  โดยใช้ชื่อใหม่ว่า  “โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล”  

รายชื่อคณะกรรมการ

            แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการวัสดุรีไซเคิล  (ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 10/2552  วันที่  15 มกราคม  2552)  เพื่อรับผิดชอบและดำเนินโครงการ  ดังนี้

นายสมพล        ณ  สงขลา                      ประธานกรรมการ
นายแดนไท       นำเพ็ง                           กรรมการ
นายคำเทือง      ละอองคำ                       กรรมการ
นายถนัด           พนาลิกุล                        กรรมการ
นายกวิศ            สุระประพันธ์                   กรรมการ
นายวรงค์           ชินวันทนานนท์              กรรมการ
ตัวแทนฝ่ายกิจการนักศึกษา                     กรรมการ
ตัวแทนสำนักงานบริหารการเงิน                กรรมการ
นายบุญทวี          ทองพั้ว                        กรรมการและเลขานุการ

การดำเนินงานของคณะกรรมการ
1) จัดทำโครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
2) จัดอบรมแม่บ้านและบุคลากร (29 พฤษภาคม 2552 ณ ห้อง SM 204) มีวิทยากรจากสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ฯ และศูนย์วัสดุฯ หลักสี่ดอนเมืองมาให้ความรู้ด้านเกี่ยวกับประเภทและวิธีการคัดแยกวัสดุรีไซเคิล
3) จัดวางถังขยะ ชนิดแยกประเภทขยะ และประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทิ้งขยะในถังตามประเภทขยะ
4) จัดตั้งธนาคารขยะ บริการรับฝากขยะ ขายขยะ นำเงินที่ขายส่วนหนึ่งคืนผู้ฝากขยะ อีกส่วนเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย
5) ผู้รับผิดชอบโครงการ : ฝ่ายอาคารสถานที่ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

ประชาสัมพันธ์การทิ้งขยะให้ถูกประเภท

 

ดร.ชวลิต หมื่นนุช รองอธิการบดีฝ่ายบริหารกล่าวเปิดโครงการ

 

เปิดตัวโครงการ
         ในวันที่ 10 กันยายน 2552 ณ อาคาร AU Mall มีพิธีเปิดโครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และมีผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เกียรติมาร่วมในพิธี โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ เป็นอย่างดี อาทิ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ พนักงาน นักศึกษา องค์กรนักศึกษา มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และฝ่ายกิจการนักศึกษา ช่วยจัดบอร์ดนิทรรศการเรื่องขยะรีไซเคิล และจัดการแสดงบนเวที
          อนึ่ง สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ฯ สนับสนุนเสื้อยืดเข้าร่วมโครงการฯ รวม 300 ตัว โดยแจกจ่ายให้คณะกรรมการโครงการฯ ผู้บริหารที่มาร่วมงาน นักศึกษาที่มาช่วยงาน และสมาชิกที่นำขยะมาฝากในวันดังกล่าว  

โปสเตอร์แสดงราคาซื้อขายวัสดุรีไซเคิล เพื่อติดประกาศประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกได้ทราบในงานเปิดตัวโครงการ

 

เจ้าหน้าที่ให้บริการลงทะเบียน และเปิดรับสมาชิก

 

วัสดุรีไซเคิลส่วนหนึ่งที่สมาชิกนำมาจำหน่ายในวันเปิดตัวโครงการ

 

เสื้อโปโลที่แจกให้กับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก

ในวันเปิดโครงการ

เจ้าหน้าที่ทำการคัดแยกประเภทวัสดุรีไซเคิล
และชั่งน้ำหนักก่อนการจำหน่าย

 

ก่อนที่จะมีการจัดตั้งธนาคารขยะ พนักงานนำวัสดุรีไซเคิลออกไปจำหน่ายกันเอง ต่างคนต่างขนออก
(บันทึกภาพ 1 เม.ย.2550 และ 18 ก.ค. 2552)

วัตถุประสงค์การจัดตั้งโครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล  

1. เพื่อจัดระบบการจัดการขยะ เศษวัสดุเหลือใช้ภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้จากขยะรีไซเคิลให้กับนักศึกษา บุคลากร และมหาวิทยาลัย
3. เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการคัดแยกขยะรีไซเคิล นำเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่

ผู้ดำเนินงานโครงการเริ่มแรก
1. นายบุญทวี ทองพั้ว ผู้จัดการธนาคาร
2. เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ (ABAC) 2 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสมาชิกและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ขนถ่ายขยะ และเจ้าหน้าที่คัดแยกขยะ

ผู้ดำเนินงานโครงการปัจจุบัน
1. นายคำเทือง ละอองคำ ผู้จัดการธนาคาร (หฝ.อาคารสถานที่ วข.สุวรรณภูมิ)
2. นางสาวภครา บัวล้อม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร (สำนักงานบริหารการเงิน)
3. นางกุสุมา พงษ์สิงห์ เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงิน บันทึกข้อมูล และขนถ่ายขยะ (ฝ่ายนิติการและอำนวยการ)
                              
สมาชิกธนาคารขยะ แยกได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. อาจารย์และเจ้าหน้าที่
2. พนักงานของมหาวิทยาลัย
3. พนักงาน OUTSOURCE
4. นักศึกษา
รวมการเปิดบัญชี ทั้งสิ้น 112 เล่ม
                                                 
วันเวลาและการดำเนินการ
รับฝากขยะเฉพาะวันศุกร์ เวลา 16.00 น. สำหรับอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ วันเสาร์ สำหรับพนักงานบริการ ภายใต้การดูแลของ คุณคำเทือง ละอองคำ หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ และตรวจสอบเอกสารและการเงินโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการเงิน

สถานที่ในการดำเนินการซื้อขายและคัดแยกขยะ แยกเป็น 2 ฝั่ง ดังนี้
1. อาคารเรียนใช้บริเวณลานรถโค้ชตรงข้ามอาคาร OM
2. ลานจอดรถใต้อาคารหอพักหญิง (ตรงข้ามสนามฟุตบอล)

 

ขยะฝั่งอาคารเรียน

 

ขยะฝั่งหอพัก 

การรับซื้อ – ขายขยะรีไซเคิล
1. แจ้งให้ผู้จัดการธนาคารขยะรีไซเคิลได้ทราบเมื่อจะมีการซื้อ – ขายขยะ ทุกครั้ง
2. โทรศัพท์ตรวจสอบราคากับร้านรับซื้อของเก่าอย่างน้อย 3 ร้าน เพื่อเปรียบเทียบราคาและสอบถามราคาของวัสดุรีไซเคิลในขณะนั้น เนื่องจากราคาวัสดุรีไซเคิลมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจ เลือกร้านที่ให้ราคาสูงที่สุด
3. เมื่อได้ราคาที่ทางร้านเสนอมาแล้ว ก็นำราคามาหักลด 10 % จากนั้นก็แจ้งราคาที่ลดแล้วให้สมาชิกทราบ โดยติดประกาศในวันที่มีการขายทุกครั้ง
4. ทุกวันเสาร์ ในวันที่มีการขายวัสดุรีไซเคิล สมาชิกจะต้องขนขยะรีไซเคิลของกลุ่มตนเองมารวมกันไว้ตามจุดที่กำหนด คือฝั่งอาคารเรียนใช้บริเวณลานจอดรถโค๊ช และฝั่งหอพักใช้บริเวณลานจอดรถใต้อาคารหอพักหญิง
5. เริ่มต้นจากฝั่งอาคารเรียน เมื่อสมาชิกขนขยะรีไซเคิลมารวมไว้แล้ว ก็ทยอยชั่งน้ำหนัก ซึ่งตัวแทนสมาชิกของแต่ละกลุ่มจะนั่งจดบันทึกของกลุ่มตนเองไปพร้อม ๆ กับเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลของธนาคารฯให้ถูกต้องตรงกัน
6. เจ้าหน้าที่ธนาคารจะคัดแยกขยะรีไซเคิลในส่วนที่สมาชิกไม่ได้คัดแยกไว้ เพื่อจะได้จัดวางไว้เป็นหมวดหมู่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะรีไซเคิล (ส่วนนี้ถือเป็นอีกหนึ่งผลต่างที่ธนาคารจะได้นอกเหนือจากการหักส่วนลด 10 %)
7. หลังจากเสร็จจากฝั่งอาคารเรียน ก็จะย้ายไปฝั่งหอพักนักศึกษา ขั้นตอนเช่นเดียวกัน
8. เมื่อรถรับซื้อของเก่ามาถึง จะทำการชั่งน้ำหนักใหม่อีกรอบระหว่างเจ้าหน้าที่ธนาคารและร้านรับซื้อ โดยให้มารับที่ฝั่งหอพักก่อน จากนั้นจึงจะย้ายไปฝั่งอาคารเรียน เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารจะคิดเงินเพื่อรับเงินจากร้านค้าที่รับซื้อ เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจการซื้อ – ขายขยะรีไซเคิลในวันนั้น ๆ

การนำส่งเงิน
เจ้าหน้าที่ธนาคารจัดทำเอกสารการนำส่งเงิน โดยผ่านผู้จัดการธนาคารขยะรีไซเคิลตรวจสอบเอกสาร จำนวนเงิน ภายในวันจันทร์ จากนั้นจึงเสนอผู้อำนวยการสำนักรองอธิการบดีฝ่ายบริหารลงนาม เพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่บัญชีและเจ้าหน้าที่การเงิน สำนักบริหารการเงินต่อไป

การเบิก-จ่ายเงินคืนสมาชิก
1. การเบิกจ่ายสำหรับสมาชิก จะกำหนดการเบิกจ่ายเงินค่าขยะรีไซเคิลให้สมาชิกภายในสัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เมื่อรวบรวมเอกสารการขอเบิกเงินจากสมาชิกได้ทั้งหมดแล้ว ก็จัดทำเอกสารการเบิกเงิน ตามคำขอเบิกของสมาชิก โดยสั่งจ่ายในนามหัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ ผ่านการเสนอขออนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
2. หลังจากได้รับใบนัดรับเช็ค หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ เบิกเงินจากสำนักบริหารการเงิน (เงินทดรองจ่าย) จากนั้นส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ธนาคารรีไซเคิลเพื่อจ่ายคืนให้กับสมาชิกตามรายชื่อบุคคลที่เขียนเบิก
3. เมื่อสมาชิกเซ็นชื่อพร้อมรับเงินแล้ว ก็จัดทำเอกสารเคลียร์เงินคืนส่งสำนักบริหารการเงินภายในเวลาที่กำหนด

ขยะรีไซเคิลที่ร้านค้าเข้ามารับซื้อ


เจ้าหน้าที่ธนาคารขณะจดบันทึกการชั่งน้ำหนักพร้อมกับเจ้าของร้านรับซื้อ

ปัญหาและอุปสรรค
1. เจ้าหน้าที่ธนาคารขยะมีไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีอยู่เพียง 1 คน บางสัปดาห์(วันเสาร์)ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ ส่งผลกระทบให้จำนวนขยะรีไซเคิลที่สมาชิกเก็บพักไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อรอการจำหน่าย เกิดการสะสมเป็นจำนวนมาก
2. ไม่มีสถานที่จัดเก็บขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะ
3. มีการแอบเอาขยะรีไซเคิลที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยออกไปขายข้างนอกเอง โดยฝากคนที่มีรถขนออกไปขายให้บ้าง ขายให้ร้านที่ขายอาหารอยู่ใน Plaza บ้าง (เพราะร้านที่ขายอาหารสามารถขนของออกไปได้)

แนวทางการแก้ไข
1. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ธนาคารขยะรีไซเคิลไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ จะขอให้พนักงานแผนกจัดเลี้ยงมาช่วยปฏิบัติงานแทน แต่ถ้าพนักงานติดงานประจำอยู่ก็จะเลื่อนการซื้อขายออกเป็นสัปดาห์ถัดไป
2. ปัจจุบันการจัดเก็บขยะใช้ที่ห้องข้างบันได อาคาร CL แต่จะเก็บเฉพาะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ส่วนของแม่บ้านยังไม่มีที่เก็บ (ปัจจุบันแม่บ้านฝั่งอาคารเรียนจะเก็บไว้ตามมุมห้องน้ำ ช่องชาร์ปข้างลิฟท์ ห้องใต้บันได) และฝั่งหอพักเก็บไว้ที่ห้องหลังลิฟต์ ชั้น 4 อาคาร B C
3. ปัจจุบันการนำขยะรีไซเคิลออกนอกพื้นที่มหาวิทยาลัยสามารถทำได้ง่าย ขาดการตรวจสอบของ รปภ.ซึ่งได้ประสานงานกับผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคลิกภาพและคุณภาพชีวิตนักศึกษาแล้ว จึงเชื่อว่าหากมีการกำชับ หรือกำหนดเป็นแนวปฏิบัติของรปภ.ในการตรวจสอบก่อนออกนอกพื้นที่ ปัญหาการนำขยะรีไซเคิลออกนอกพื้นที่จะลดลงและหมดไปในที่สุด

สรุปผลการดำเนินงาน  โครงการธนาคารรีไซเคิล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ
ปีการศึกษา 2561 เริ่มตั้งแต่ ( 1 สิงหาคม 2561 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 )

วัน/เดือน/ปี  รับซื้อจากสมาชิก  ขายให้ร้านค้า  ส่วนต่างเข้ามหาวิทยาลัย  เบิกคืนสมาชิก 
 กก. บาท กก. บาท วัน/เดือน/ปี จำนวนเงิน 
15 ก.ย. 61  4,705.0 19,743.00 4,705.0 23,701.00 3,958.00     
22 ก.ย.61 4,336.0  19,526.00  4,336.0 23,346.00 3,820.00    
รวม ก.ย.61 9,041.0  39,269.00  39,269.0  47,047.00 7,778.00     
               
24 พ.ย.61 1,968.0  11,321.50  1,968.0  13,316.00  1,994.50     
รวม พ.ย. 61  1,968.0   11,321.50  1,968.0   13,316.00  1,994.50     
               
1 ธ.ค.61 3,728.0 21,275.00 3,728.0   24,542.50  3,267.50     
รวม ธ.ค. 61 3,728.0  21,275.00 3,728.0 24,542.50  3,267.50  6 ธ.ค.61 69,200.00
               
19 ม.ค.62  2,520.0  13,716.00  2,520.0  16,064.00  2,348.00      
รวม ม.ค. 62 2,520.0 13,716.00  2,520.0  16,064.00  2,348.00     
               
2 ก.พ.62 3,001.0   13,334.50   3,001.0  15,525.50  2,191.00     
รวม ก.พ.62  3,001.0   13,334.50   3,001.0  15,525.50 2,191.00     
               
23 มี.ค.62 2,414.0 14,241.50 2,414.0  16,616.50 2,375.00    
รวม มี.ค. 62 2,414.0 14,241.50 2,414.0  16,616.50 2,375.00    
               
20 เม.ย.62  3,861.0  20,651.50  3,861.0  23,988.50  3,337.00     
รวม เม.ย. 62  3,861.0  20,651.50  3,861.0  23,988.50  3,337.00     
               
25 พ.ค.62  2,248.0  13,492.50  2,248.0  15,659.50  2,167.00     
รวม พ.ค. 62  2,248.0  13,492.50  2,248.00  15,659.50  2,167.00  3 พ.ค.62  28,000.00 
               
22 มิ.ย.62 4,097.0 13,155.00 4,097.0 16,276.50 3,121.50    
รวม มิ.ย. 62 4,097.0 13,155.00 4,097.0 16,276.50 3,121.50 27 มิ.ย.62 49,500.00
               
สรุปปีการศึกษา  2557  32,878.00  160,456.50  32,878.00 89,036.00  28,579.50  รวมเบิก   146,700.00 


สรุปปีการศึกษา 2562

ซื้อจากสมาชิก  32,878.00   32.88 (ตัน)  จำนวนเงิน 160,456.50 บาท 

ขายให้ร้านค้า  32,878.00   จำนวนเงิน 189,036.00 บาท

ส่วนต่างเข้ามหาวิทยาลัย  จำนวนเงิน 28,579.50 บาท

เบิกคืนสมาชิก จำนวนเงิน จำนวนเงิน 146,700.00 บาท

 

HUAMAK CAMPUS

592/3 Soi Ramkhamhaeng 24 Ramkhamhaeng Rd.,
Hua Mak, Bangkok
Thailand
10240

CONNECT WITH US

We're on Social Networks. Follow us & get in touch.